เท็ด ฟูจิตะ
เท็ตสึยะ ธีโอดอร์ ฟูจิตะ | |
---|---|
เกิด | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1920 คิตะกีวชู, จังหวัดฟูกูโอกะ, ญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 ชิคาโก, อิลลินอย, สหรัฐอเมริกา | (78 ปี)
พลเมือง | ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (1968) |
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแห่งคีวชู (B.S., 1943) มหาวิทยาลัยโตเกียว (D.Sc., 1950) |
มีชื่อเสียงจาก | พายุทอร์นาโด, สัณฐานพายุทอร์นาโด, มาตราฟูจิตะ, พายุทอร์นาโดหลายตาพายุ, ดาวน์เบิสต์, ไมโครเบิสต์, อุตุนิยมวิทยาขนาดกลาง |
บุตร | คาซูยะ ฟูจิตะ |
รางวัล | เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์, ซูโฮ จูโกโช (ชั้น 2)(1991) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | อุตุนิยมวิทยา |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยชิคาโก |
วิทยานิพนธ์ | การศึกษาวิเคราะห์ไต้ฝุ่น (1952) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | ชิเงกาตะ โชโนะ |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | โรเจอร์ วากิโมโตะ, เกรกอรี เอส. ฟอบส์ |
เท็ตสึยะ ธีโอดอร์ "เท็ด" ฟูจิตะ (藤田 哲也, Tetsuya Theodore "Ted" Fujita, Fujita Tetsuya, 23 ตุลาคม 2463 - 19 พฤศจิกายน 2541) เป็นนักวิจัยด้านพายุชาว ญี่ปุ่น-อเมริกัน งานวิจัยของเขาที่มหาวิทยาลัยชิคาโก ส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวกับพายุ, ฝนฟ้าคะนองรวมถึงพายุทอร์นาโด, พายุเฮอริเคนและพายุไต้ฝุ่นเพื่อปฏิวัติความรู้ของประชาชน เขานั้นเป็นที่รู้จักจากการสร้างมาตราฟูจิตะ เพื่อวัดความเสียหายจากพายุทอร์นาโด[1][2] รวมถึงการค้นพบดาวน์เบิสต์ (Downburst) และ ไมโครเบิสต์ (Microburst) และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจสมัยใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสภาพอากาศที่รุนแรงและวิธีที่พายุส่งผลกระทบต่อผู้คนและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านงานของเขาในการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
ชีวประวัติ
[แก้]ฟูจิตะเกิดที่หมู่บ้านโซเนะ จังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองคิตะกีวชู เขารับการศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งคีวชู ในปีพ.ศ. 2496 เขาได้รับเชิญให้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชิคาโกโดยโฮเรซ อาร์. บายเออส์ ผู้ซึ่งมีความสนใจในงานวิจัยของฟูจิตะโดยเฉพาะการค้นพบเกี่ยวกับดาวน์ดราฟต์แบบอากาศเย็น ฟูจิตะทำงานที่มหาวิทยาลัยชิคาโก จนกระทั่งเกษียณอายุในปีพ.ศ. 2533[3]
เครื่องอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ซูโฮ จูโกโช (ชั้น 2)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "A TRIBUTE TO DR". stormtrack.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
- ↑ "A Tribute to the Works of T. Theodore Fujita". Bulletin of the American Meteorological Society (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). American Meteorological Society. 82 (1). 1 มกราคม 2001. doi:10.1175/1520-0477-82.1.fmi.
- ↑ "Tetsuya "Ted" Fujita, 1920-1998". www-news.uchicago.edu.